ครูเอกวิเคราะห์แอร์ระเบิด
เหตุเกิดที่จ.อุบลราชธานี นำส่งโรงพยาบาล สรรพสิทธิประสงค์ โดยช่างทั้งหมดกำลังซ่อมเครื่องคอมเพลสเซอร์แอร์ ภายในร้าน แต่น้ำยาแอร์อุดค้างทำให้เกิดการระเบิดอย่างแรง .... . เมื่อเวลา 08.50 น.วันนี้ (9 พ.ค.) พ.ต.ต.สุรเกษม สาหินกอง สารวัตรเวร สภ.เมืองอุบลราชธานี รับแจ้งจากศูนย์วิทยุ 191 ราชธานี ว่าเกิดเหตุคอมเพลสเซอร์แอร์ระเบิด ที่ร้านมนตรีแอร์ เลขที่ 167 ถ.พโลชย ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี มีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายราย จึงรายงานผู้บังคับบัญชาแล้วรีบรุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ เป็นห้องแถวไม้ 2 ชั้น จุดเกิดเหตุบริเวณหน้าร้าน พบเศษเหล็กและรอยเลือดตกอยู่กระจัดกระจายทั่วบริเวณ ส่วนผู้บาดเจ็บมีทั้งหมด 7 รายพลเมืองดีช่วยเหลือนำส่งรักษาที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์แล้วก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่จึงทำแผนที่เกิดเหตุ และติดต่อเจ้าหน้าที่ กก.วท.22 อุบลราชธานีเข้าตรวจสอบหาสาเหตุที่แน่ชัดแล้วรุดไปตรวจสอบผู้บาดเจ็บที่เข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ทั้ง 7 ราย . ทราบชื่อ นายมนตรี จารุเกียรติ อายุ 52 ปี เจ้าของร้านบาดเจ็บสาหัส ถูกสะเก็ดที่แขนด้านขวา บริเวณใบหน้า และตามลำตัวหลายจุด นายสุรวิทย์ นนทศิริ อายุ 24 ปี และนายอมรเทพ วาสจุฬา อายุ 18 ปี บาดเจ็บสาหัส ถูกสะเก็ดเหล็กจากแรงระเบิดบาดที่บริเวณใบหน้า ใกล้ดวงตา หลายแห่ง ส่วนที่เหลืออีก 4 คน คือ นายสรณเกียรติ จารุเกียรติ อายุ 20 ปี นายปรีชา พรหมทา อายุ 20 ปี นายบรรดิษฐ์ สิงหา อายุ 19 ปี และนายสมพงษ์ พรหมอุตม์ อายุ 25 ปีถูกถูกสะเก็ดตามร่างกายได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย . นายสมพงษ์ พรหมอุตม์ อายุ 25 ปี หนึ่งในช่างที่ได้รับบาดเจ็บและอยู่ในเหตุการณ์เล่าว่า ก่อนเกิดเหตุ นายมนตรี เจ้าของร้านได้นั่งซ่อมเครื่องคอมเพลสเซอร์แอร์อยู่กลางร้าน เนื่องจากเครื่องมีรูรั่ว จึงได้อัดออกซิเจน เข้าไปในท่อ และจุดไฟเป่าหารูรั่ว เตรียมเชื่อมปิด โดยมีช่างคนอื่นๆช่วยกันหารูรั่ว และยืนทำงานอยู่ด้านข้าง แล้วจู่ๆเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อเครื่องคอมเพลส เซอร์แอร์ซึ่งอาจมีน้ำยาแอร์อุดค้างทำให้เกิดการระเบิดขึ้นอย่างแรง จนช่างในร้านได้รับบาดเจ็บดังกล่าวเบื้องต้นทุกคนพ้นขีดอันตรายแล้ว
ทรรศนะของครูเอก
ครูเอกอยากจะบอกจริงๆว่าไอ้การระเบิดที่เกิดขึ้นนั้นตามปกติมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่จะระเบิดกันนะครับ� ก่อนอื่นเราต้องรู้จักแอร์ก่อนแอร์ในบ้านเราที่ใช้กันอยู่ส่วนใหญ่คือแอร์แบบแยกส่วน(split type)ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักด้วยกันคือ คอล์ยเย็น(ไม่ใช่ส่วนที่ระเบิดไม่ขอพูดถึง)� คอล์ยร้อน(condensing unit)เป็นส่วนที่เกิดระเบิดขึ้นเป็นประจำก็ต้องมาดูว่ามีอะไรอยู่บ้าง� ในส่วนของทางกลจะประกอบด้วย คอมเพรสเซอร์ที่เป็นตัวดูดและอัดน้ำยา� และคอนเดนเซอร์คือส่วนที่เป็นรังผึ้งสำหรับระบายความร้อนและรับแรงดันสูงประมาณ 250 ปอนด์ต่อตารางนิ้วนับว่าเป็นแรงดันที่สูงมากแต่ตามปกติแล้วการออกแบบเขาจะออกแบบมาให้ทนความดันได้อยู่แล้วครับ
อีทีนี้มันระเบิดได้อย่างไรอ่านข้อความที่ครูเน้ไว้ด้านบนนะครับ� ช่างเขาใช้ออกซิเจน(O2)ในการตรวจหารอยรั่วพอเจอรอยรั่วแล้วก็จัดการเชื่อมปิดทั้งๆที่ทุกครั้งก็ทำแบบนี้แต่มันไม่ระเบิดแต่คราวนี้ระเบิดสามารถอธิบายได้อย่างนี้ครับ
ในคอนเดนซิ่งยูนิตที่มีส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์และคอนเดนเซอร์นั้นจะมีน้ำมันอยู่ครับ น้ำมันที่ว่านี้ก็คือน้ำมันที่ใช้หล่อลื่นคอมเพรสเซอร์และจะไหลไปตามท่อทั้งระบบตามธรรมชาติขึ้นชื่อว่าน้ำมันก็ต้องติดไฟ� ผนวกกับอัดออกซิเจนเข้าไปตัวออกซิเจนนั้นไม่ติดไฟครับแต่ช่วยให้ไฟติด เมื่อเจอรูรั่วช่างก็เชื่อมปิดโดยใช้เปลวไฟที่มีความร้อนไม่น้อนกว่า 1000 องศา นึกดูนะครับน้ำมันติดไฟออกซิเจนช่วยให้ไฟติดไฟติดแล้วออกซิเจนโดนความร้อนสูงถึงจะมีรูระบายอากาศที่ขยายตัวก็ออกไม่ทัน(อันนี้เดาเอานะครับไม่ได้ถามคนที่โดนระเบิดเพราะไม่รู้จะถามยังไง)ก็ต้องนับพร้อมๆกันครับ............1..............2................3
........................................................ตูม..........................................
งานเข้า.....................แต่เป็นงานศพนะครับ
ข้อคิดควรจำในการตรวจรั่วระบบการทำความเย็นควรใช้ก็ซที่ไม่ขยายตัวเช่นไนโตรเจนตรวจจะดีกว่าครับ���� โชคดีร่ำรวย� ไม่เจอระเบิดนะครับช่างแอร์
ทรรศนะของครูเอก
ครูเอกอยากจะบอกจริงๆว่าไอ้การระเบิดที่เกิดขึ้นนั้นตามปกติมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่จะระเบิดกันนะครับ� ก่อนอื่นเราต้องรู้จักแอร์ก่อนแอร์ในบ้านเราที่ใช้กันอยู่ส่วนใหญ่คือแอร์แบบแยกส่วน(split type)ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักด้วยกันคือ คอล์ยเย็น(ไม่ใช่ส่วนที่ระเบิดไม่ขอพูดถึง)� คอล์ยร้อน(condensing unit)เป็นส่วนที่เกิดระเบิดขึ้นเป็นประจำก็ต้องมาดูว่ามีอะไรอยู่บ้าง� ในส่วนของทางกลจะประกอบด้วย คอมเพรสเซอร์ที่เป็นตัวดูดและอัดน้ำยา� และคอนเดนเซอร์คือส่วนที่เป็นรังผึ้งสำหรับระบายความร้อนและรับแรงดันสูงประมาณ 250 ปอนด์ต่อตารางนิ้วนับว่าเป็นแรงดันที่สูงมากแต่ตามปกติแล้วการออกแบบเขาจะออกแบบมาให้ทนความดันได้อยู่แล้วครับ
อีทีนี้มันระเบิดได้อย่างไรอ่านข้อความที่ครูเน้ไว้ด้านบนนะครับ� ช่างเขาใช้ออกซิเจน(O2)ในการตรวจหารอยรั่วพอเจอรอยรั่วแล้วก็จัดการเชื่อมปิดทั้งๆที่ทุกครั้งก็ทำแบบนี้แต่มันไม่ระเบิดแต่คราวนี้ระเบิดสามารถอธิบายได้อย่างนี้ครับ
ในคอนเดนซิ่งยูนิตที่มีส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์และคอนเดนเซอร์นั้นจะมีน้ำมันอยู่ครับ น้ำมันที่ว่านี้ก็คือน้ำมันที่ใช้หล่อลื่นคอมเพรสเซอร์และจะไหลไปตามท่อทั้งระบบตามธรรมชาติขึ้นชื่อว่าน้ำมันก็ต้องติดไฟ� ผนวกกับอัดออกซิเจนเข้าไปตัวออกซิเจนนั้นไม่ติดไฟครับแต่ช่วยให้ไฟติด เมื่อเจอรูรั่วช่างก็เชื่อมปิดโดยใช้เปลวไฟที่มีความร้อนไม่น้อนกว่า 1000 องศา นึกดูนะครับน้ำมันติดไฟออกซิเจนช่วยให้ไฟติดไฟติดแล้วออกซิเจนโดนความร้อนสูงถึงจะมีรูระบายอากาศที่ขยายตัวก็ออกไม่ทัน(อันนี้เดาเอานะครับไม่ได้ถามคนที่โดนระเบิดเพราะไม่รู้จะถามยังไง)ก็ต้องนับพร้อมๆกันครับ............1..............2................3
........................................................ตูม..........................................
งานเข้า.....................แต่เป็นงานศพนะครับ
ข้อคิดควรจำในการตรวจรั่วระบบการทำความเย็นควรใช้ก็ซที่ไม่ขยายตัวเช่นไนโตรเจนตรวจจะดีกว่าครับ���� โชคดีร่ำรวย� ไม่เจอระเบิดนะครับช่างแอร์